เตือนนักท่องป่านอนเต็นท์ท้าลมหนาว ระวัง! ไรอ่อนกัดที่ลับ
หมอใหญ่เตือน “นักท่องป่า” นอนเต็นท์ท้าลมหนาว ระวัง! ไรอ่อนกัดที่ลับ ติดโรคสครับไทฟัส รวมทั้งไข้ป่าจากยุงก้นปล่อง อันตรายถึงตาย ขณะนี้ทั้ง 2 โรคพบได้ตลอดปี พบคนป่วยรวมกันกว่า 30,000 ราย เสียชีวิตแล้ว 47 ราย แนะหากป่วยหลังเที่ยวป่า 10-14 วัน ควรพบแพทย์
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ ว่า ในช่วงฤดูหนาว สภาพอากาศเย็น ฟ้าโปร่ง ประชาชนจำนวนมากมักเดินทางไปท่องเที่ยวชมธรรมชาติ สูดไอหนาวในภาคเหนือ และนิยมไปเที่ยวป่า เดินป่า หรือกางเต็นท์นอนตามป่า ขอให้ระมัดระวังตนเอง เนื่องจากในป่าจะมีตัวไรอ่อน เป็นพาหะนำโรคสครับไทฟัส และมียุงก้นปล่องตัวการก่อโรคไข้จับสั่น หรือไข้มาลาเรีย ซึ่งยุงชนิดนี้อยู่ในป่า ออกหากินเวลากลางคืน ทั้ง 2 โรคนี้มีอันตรายทำให้เสียชีวิต
ทั้งนี้ จากรายงานโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศในปี 2551 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จนถึงพฤศจิกายน พบคนป่วยจาก 2 โรคนี้แล้ว 31,214 ราย เสียชีวิตรวม 47 ราย โดยโรคสครับไทฟัสป่วย 3,916 ราย เสียชีวิต 4 ราย และโรคมาลาเรียป่วย 27,298 ราย เสียชีวิต 43 ราย
นพ.ปราชญ์ กล่าวต่อว่า ผู้ป่วยโรคสครับไทฟัส พบมากสุดที่ภาคเหนือจำนวน 2,152 ราย อันดับ 1 คือ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก เชียงใหม่ รองลงมา คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 987 ราย ส่วนภาคใต้และภาคกลางพบได้น้อย ส่วนโรคมาลาเรียพบมากที่สุดที่ภาคใต้ 11,532 ราย รองลงมา คือ ภาคเหนือ 9,513 ราย ภาคกลาง 5,265 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 988 ราย จึงขอให้ประชาชนระมัดระวัง ควรใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด ใส่กางเกงขายาวเสื้อแขนยาวป้องกัน ทั้ง 2 โรคนี้ไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่มียารักษาให้หายขาดได้
ด้านนพ.หม่อมหลวง สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคสครัปไทฟัส เกิดจากตัวไรอ่อน (Chigger) กัด ซึ่งในตัวไรอ่อนจะมีเชื้อริกเกทเซีย (Rickettsia orientalis) เชื้อนี้อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารของไรหลายชนิด เมื่อไรแก่ จะวางไข่ไว้บนดินและฟักเป็นตัวอ่อน ขนาดเท่าปลายเข็มหมุด มีสีส้มอมแดง มองเห็นด้วยตาเปล่า ไรอ่อนจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ตามทุ่งหญ้า หรือพื้นที่ทุ่งหญ้าชายป่า ป่าโปร่ง พุ่มไม้เตี้ยๆ หรือพื้นที่ป่าละเมาะ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นป่าทึบแสงแดดส่องไม่ถึง
โดยไรอ่อนจะกินน้ำเหลืองของสัตว์เลือดอุ่น เช่น นก หนู สัตว์เลื้อยคลาน รวมทั้งคนที่เดินผ่านด้วย จุดที่ไรอ่อนมักชอบกัด คือ ในบริเวณร่มผ้า ได้แก่ ที่อวัยวะสืบพันธุ์ ขาหนีบ เอว ลำตัว รักแร้และคอ ผู้ที่ถูกไรอ่อนกัดร้อยละ 30 จะพบแผลบุ๋มคล้ายโดนบุหรี่จี้ (Eschar) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ ตรงกลางรอยแผล จะเป็นสะเก็ดสีดำ ส่วนรอบๆ แผลจะแดง หลังถูกกัดประมาณ 10-12 วัน จะมีไข้สูง ปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อยตามตัว ตาแดง อาจมีอาการทางปอดและสมองได้ ควรรีบไปพบแพทย์ หากรักษาไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้ ในการรักษาประชาชนควรต้องแจ้งประวัติการไปเที่ยวป่าให้แพทย์ทราบด้วย
การป้องกันไม่ให้ไรอ่อนกัด ผู้ที่จะไปเดินป่า หรือกางเต็นท์นอนในป่า ควรใส่รองเท้า สวมถุงเท้ายาวหุ้มปลายขากางเกงไว้ และเหน็บปลายเสื้อเข้าในกางเกง ใส่เสื้อแขนยาวปิดคอ ใช้ยาทากันแมลงกัดตามแขนขา แต่ไม่แนะนำให้ใช้ในรายที่ผิวหนังมีรอยถลอกหรือมีแผล และไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบ เพราะเด็กอาจเผลอขยี้ตาหรือหยิบจับอาหารและสิ่งของใส่ปาก ทำให้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย เป็นอันตรายได้
สำหรับการยาทากันแมลงการทาครั้งหนึ่งจะออกฤทธิ์นาน 4 ชั่วโมง หลังออกจากป่าให้อาบน้ำให้สะอาด พร้อมนำเสื้อผ้าที่สวมใส่มาซักให้สะอาดทันที เพราะตัวไรอาจติดมากับเสื้อผ้าได้ ส่วนการตั้งค่ายพักในป่า ควรทำบริเวณค่ายพักให้โล่งเตียน หลีกเลี่ยงการนั่งและนอนบริเวณพุ่มไม้ ป่าละเมาะ หรือหญ้าขึ้นรก
ส่วนโรคมาลาเรีย เกิดจากเชื้อพลาสโมเดียม (Plasmodium) ซึ่งมี 4 ชนิด ที่พบบ่อยส่วนใหญ่เป็นชนิด พี.ฟัลซิพารัม (P.falciparum) ซึ่งเป็นชนิดที่รุนแรง และ พี.ไวแว็ก (P.vivax) มีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน มียุงก้นปล่องเป็นตัวแพร่เชื้อ อาการของโรคคือ ไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ พบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี ทุกกลุ่มอายุ ลักษณะของอาการไข้ หากเป็นเชื้อฟัลซิพารัม จับไข้ทุก 36 - 48 ชั่วโมงหรือทุกวันก็ได้ และอาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงเช่น มาลาเรียขึ้นสมอง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ปัสสาวะสีดำ ไตวาย ปอดบวมน้ำ ทำให้เสียชีวิตได้ ส่วนเชื้อไวแวก จับไข้ทุก 48 ชั่วโมงหรือจับวันเว้นวัน
การป้องกันโรคนี้ ไม่แนะนำให้กินยาป้องกันก่อนเข้าป่า เนื่องจากจะทำให้เข้าใจผิดว่ากินยาแล้วจะไม่ป่วยเป็นไข้มาลาเรีย และหากป่วยเป็นไข้มาลาเรียจริงๆ ก็จะตรวจไม่พบเชื้อ ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปนอนแคมป์ตามป่าเขา ควรเตรียมมุ้งหรือเต้นท์ชนิดที่มีตาข่ายกันยุง และสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว แนะนำให้ใช้สีอ่อนๆ เพราะการใส่เสื้อผ้าสีดำ มักดึงดูดความสนใจให้ยุงกัดได้มาก รวมทั้งควรจุดยากันยุง ทายากันยุงหรือยาทาไล่ยุงที่แขน ขา ใบหู หลังคอ และส่วนที่อยู่นอกเสื้อผ้า เพื่อป้องกันยุงกัด ทั้งนี้ภายหลังกลับจากเที่ยวป่าแล้ว หากมีไข้ ต้องรีบพบแพทย์ และต้องแจ้งประวัติแก่แพทย์ที่ตรวจรักษาด้วยว่ามีประวัติการเข้าป่า เพื่อให้การรักษาอย่างทันท่วงที
จาก
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9510000149727
เพิ่มเติมค่ะ
โรคสครัปไทฟัส
1. สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อริคเก็ทเซีย ซูซูกามูชิ ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อ แต่จะเจริญและเพิ่มจำนวนอยู่ภายในเซลของสิ่งมีชีวิต
2. ระบาดวิทยาของโรค
โรคนี้เกิดประปรายกระจายตามส่วนต่าง ๆ ของประเทศไทย พบมากที่สุดในภาคเหนือ รองมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบโรคนี้เกิดได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบผู้ป่วยสูงสุดในช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะในเดือนกันยายนและตุลาคมส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรอาศัยอยู่บริเวณชายป่าโปร่งที่มีตัวไรชุกชุม
แหล่งของโรค
เชื้อโรคอยู่ในตัวไรของหนู, สัตว์แทะ, ตัวอ่อนของไรจะเป็นพาหะของโรคจากสัตว์ตัวหนึ่งไปสู่อีกตัวหนึ่ง เชื้อโรคในตัวไรจะถ่ายทอดกันได้ถึงลูกหลานของมัน ฉะนั้นเมื่อมีโรคนี้อยู่ในบริเวณใด โรคก็จะปรากฎอยู่ในบริเวณนั้นได้นาน ไรตัวแก่จะไม่กัดคนและสัตว์ ไรตัวอ่อนเท่านั้นที่กัดคนและสัตว์ เราจะเห็นอยู่กันเป็นกระจุกสีส้มได้ชัดที่บริเวณรูหูของหนู
การติดต่อ
โรคนี้ติดต่อได้โดยตัวอ่อนของไรที่มีเชื้อนี้มากัดคน ไม่มีการติดต่อจากคนไปสู่คน
ระยะฟักตัว ตั้งแต่ 6-21 วัน ปกติประมาณ 10-12 วัน
อาการ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
1. Classical type ผู้ป่วยมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะมาก ตาแดง ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยตามตัว กล้ามเนื้อ เจ็บบริเวณแผลที่ถูกไรอ่อนกัด แผลมีลักษณะคล้ายถูกบุหรี่จี้ (eschar) ซึ่งจะพบได้บริเวณรอบ ๆ เอวหรือรักแร้ หรือขาหนีบ ผู้ป่วยบางรายมีผื่นลักษณะ maculo papular rash ตามลำตัวและกระจายไปแขนขาในปลายสัปดาห์แรก ซึ่งผื่นจะเป็นนาน 3-4 วัน แล้วจางหายไป จากนั้นผู้ป่วยจะฟื้นไข้อย่างช้า ๆ ในรายที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการสมองอักเสบ อาจมี กล้ามเนื้อหัวใจตาย มีปอดบวมจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม
2. Mild type ผู้ป่วยมีอาการไข้ไม่สูง ไม่ปวดศีรษะรุนแรง มักตรวจไม่พบแผล eschar
3. Subclinical type ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่แสดงอาการอาจมีไข้เล็กน้อย ปวดศีรษะบ้าง อาการไม่แน่นอน มักพบผู้ป่วยได้โดยบังเอิญจากการตรวจพบปฏิกิริยาทางน้ำเหลือง
การวินิจฉัยโรค
1. อาการและอาการแสดงที่สำคัญ ได้แก่ มีไข้ ปวดศีรษะมาก ตาแดง ปวดกระบอกตา และตรวจพบแผล eschar ต่อมน้ำเหลืองใกล้กับส่วนของร่างกายที่พบ eschar มีขนาดโต อักเสบ กดเจ็บ ผู้ป่วยบางรายมีตับม้ามโต กดเจ็บ
2. การตรวจปฏิกริยาน้ำเหลือง หาภูมิคุ้มกัน โดยเจาะเลือดผู้ป่วยในปลายสัปดาห์ที่ 2 ของโรค มาทดสอบหาระดับแอนติบอดีต่อแอนติเจน ถ้าระดับของแอนติบอดีสูงเกินกว่า 1 : 320 ขึ้นไป หรือระดับสูงขึ้นเป็น 4 เท่า ระหว่างซีรัมที่เจาะในระยะเฉียบพลันกับระยะพักฟื้น แสดงว่าผู้ป่วยเป็นโรค
การรักษา ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาได้ผลคือ Tetracycline, chloramphenicol, ciprofloxacin และ doxycycline
การป้องและควบคุม : ป้องกันมิให้ตัวอ่อนของไรหนูกัดโดย
ให้คำแนะนำประชาชนที่จะเข้าป่าหรือเข้าไปในพื้นที่ที่สงสัยว่ามีไรอ่อน ควรสวมรองเท้า ถุงเท้าหุ้มปิดขากางเกง หรือใช้ยาทากันแมลงกัด เช่น Diethyl Tolaunide หรือ Carbocylate หรือ Benzyl พ่นตามขอบกางเกงและขอบเสื้อและควรสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาวปิด ร่างกายให้มิดชิด
เมื่อต้องการพักแรม ควรเลือกที่ตั้งพักเป็นบริเวณโล่งเตียน ควรใช้ยากำจัดแมลงพ่นรอบ ๆ บริเวณที่พัก
แนะนำให้ประชาชนช่วยกันกำจัดหนูและพ่นยาฆ่าแมลง
อาจจะใช้ยา Chemoprophylaxis ป้องกันในรายที่จำเป็นต้องเข้าไปในบริเวณที่มีโรคระบาด
เมื่อออกจากป่า นำผ้ามาต้มหรือแช่ใน Dibutyl phthalate 225 cc. ต่อน้ำอุ่น 4.5 ลิตร พร้อมทั้งใส่ผงซักฟอก 10 ช้อนโต๊ะแช่ไว้ครึ่งชั่วโมงแล้วจึงซัก
เมื่อมีผู้ป่วยเกิดขึ้นให้รีบรายงานเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานระบาดวิทยาในพื้นที่เพื่อควบคุมโรค
เมื่อพบผู้ป่วยให้ยาปฏิชีวนะทันที
ที่มา : http://www.geocities.com/crpcmo2k/warning/wkskrub.htm
นักเดินทางทั้งหลายระวังด้วยค่ะ...
ด้วยความเป็นห่วงจากเจ้าของบล๊อกค่ะ
เพลง รู้ไหม
นัททิว AF5
แอบมอง สายตา ของเธออยู่
อยากรู้ เธอคิด อย่างไร กับฉัน
คิดว่าเป็นเพียงเพื่อนกัน
หรือมีอะไรปิดบังไว้
สบตา ของเธอ กับฉัน หน่อย
อย่างน้อย ให้พอมีหวังได้ไหม
ช่วยมอง ตาฉัน อย่างตั้งใจ
ให้ใจฉันได้สัมผัสใจเธอ
จากเพื่อนที่รู้จักเป็นคนที่รู้ใจ
ก็ความรู้สึกมันเปลี่ยนไป
จะทำยังไงก็ไม่เหมือนเดิม
รู้ไหม ในวันนี้ ไม่เหมือนเก่า
รู้ไหม ใครแอบเหงา คิดถึงเธอ
รู้ไหม อยากบอกรัก แต่กลัวเก้อ
ทนไม่ไหว ที่จะห้ามใจ ไม่ให้รักเธอ
แอบคิด เข้าข้าง ตัวเองก่อน
อย่างน้อยเธอคง มีใจ ให้ฉัน
ก็ทุกๆที ที่พบกัน
ยิ่งเจอ ยิ่งทำ ให้หวั่นไหว
จากเพื่อน ที่รู้ใจ เป็นคน ที่รู้ใจ
ก็ความ รู้สึก มันเปลี่ยนไป
จะทำ ยังไง ก็ไม่เหมือนเดิม
รู้ไหม ในวันนี้ ไม่เหมือนเก่า
รู้ไหม ใครแอบเหงา คิดถึงเธอ
รู้ไหม อยากบอกรัก แต่กลัวเก้อ
ทนไม่ไหว (ทนไม่ไหว)
ได้แต่ห้ามใจ(ได้แต่ห้ามใจ)
ไม่ให้รักเธอ (ไม่ให้รักเธอ)
รู้ไหม ในวันนี้ ไม่เหมือนเก่า
รู้ไหม ใครแอบเหงา คิดถึงเธอ
รู้ไหม อยากบอกรัก แต่กลัวเก้อ
ทนไม่ไหว (ทนไม่ไหว)
ที่จะห้ามใจ(ที่จะห้ามใจ)
ไม่ให้รักเธอ (ไม่ให้รักเธอ)
วันจันทร์, ธันวาคม 22, 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Personlove
วันที่เขียน
-
►
2009
(71)
- ► สิงหาคม 2009 (1)
- ► กรกฎาคม 2009 (2)
- ► มิถุนายน 2009 (5)
- ► พฤษภาคม 2009 (3)
- ► เมษายน 2009 (11)
- ► มีนาคม 2009 (17)
- ► กุมภาพันธ์ 2009 (12)
- ► มกราคม 2009 (20)
-
▼
2008
(32)
-
▼
ธันวาคม 2008
(16)
- หนูเน่าไป..วัวใหม่มาดีๆ นะคะ
- กะเพลงลาทีก่อนปีหมู..55555...ขำอ่ะค่ะ
- I love U love U
- มาคิดดีทำดีต้อนรับปีใหม่กันดีกว่าเนอะค่ะ
- สิ่งดีๆ ที่นำมาฝากไว้ในบล๊อก
- น่ากลัวจังคนท่องป่านอนเต๊นท์
- อยากหล่อนักใช่มั๊ย..นี่แน่ะแกล้งซะเลย..เชอะ
- คลายเครียดกันเหอะเนอะ
- สรรหามาเล่า
- มาดูเด็กมหัศจรรย์..เต้นได้น่ารักมากเลยค่ะ....
- SomeOne SomeOne (อยู่ที่ไหนหว่าคะ)
- กับเพลง เจ้าของฉันคือเธอ
- วันหยุดอีกแล้วสิ
- มารู้จักดอกไม้ไทยๆ กันบ้างดีมั๊ย
- ก็ยังยิ้มได้
- กลับมาอีกครั้งหนึ่ง
- ► ตุลาคม 2008 (16)
-
▼
ธันวาคม 2008
(16)
ยิ่งรู้มาก เครียดมากน่า
ตอบลบเคยไปนอนเต๊นท์ภูกระดึง ทีลอเร ทีลอซู ไม่มีเหตุการณ์อย่างว่า
กลัวแต่ไข้ป่าอย่างเดียวแหละ 5555
(^__________________^))
ว้า มีแบบนี้ด้วย
ตอบลบน่ากัวจังแฮะ ดีนะผมไม่ชอบเข้าป่า หุ หุ
ตอบลบขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆนะค้าบ *-*
รักน๊าจุ๊บๆๆๆ